1827 จำนวนผู้เข้าชม |
เชื่อว่าตอนนี้ทุกคนอาจกำลังสับสนและไม่เข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA ทาง PDPC Thailand ได้สรุปสั้นๆไว้ 10 เรื่องให้คุณสามารถเข้าใจ PDPA ได้ง่าย
พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ซึ่งย่อมาจากคำว่า Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 หลังจากที่ถูกเลื่อนออกมาให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้
หากคุณกำลังสับสนเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA เพราะตามโซเชียลมีเดียได้ออกมาทำสื่อกันมากมายและอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ ทาง PCDC Thailand จึงได้ออกมาประกาศชัดเจนรวม 10 เรื่อง ซึ่งข้อมูลนี้สามารถเชื่อถือได้อย่างแน่นอน ดังนี้
1. ข้อมูลส่วนบุคคล คือข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้แก่กรรมเฉพาะ เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขประจำตัว ข้อมูลสุขภาพและอื่นๆ (มาตรา 6)
2. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ต้องเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งเราไว้ก่อนหรือในขณะเก็บรวบรวม (ห้ามใช้นอกเหนือจุดประสงค์) (มาตรา 21)
3. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเราเท่าที่จำเป็นภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 22) (ใช้ข้อมูลของเราให้น้อยที่สุด)
4. ความยินยอม เป็นฐานการประมวลผลฐานหนึ่งเท่านั้น ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ในการกำหนดฐานการประมวลผล ให้สอดคล้องกับลักษณะการประมวลผลและความสัมพันธ์ระหว่างผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (ตามมาตรา 24 หรือมาตรา 26)
5. ในการขอความยินยอม ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องคำนึงอย่างที่สุดในความเป็นอิสระของเจ้าของข้อมูลส่วนตัวบุคคล (ต้องไม่มีสภาพบังคับในการให้/ไม่ให้) (มาตรา 19 วรรคสี่)
6. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิ ประกอบด้วย
1) ในการถอดถอนความยินยอม ในกรณีที่ได้ให้ความยินยอมไว้ (มาตรา 19 วรรคห้า)
2) สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบรายละเอียด (Privacy Notice) (มาตรา 23)
3) สิทธิการขอเข้าถึงและการขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 30)
4) สิทธิขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 31)
5) สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 32)
6) สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ (มาตรา 33)
7) สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 34)
8) สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 35)
7. PDPA ใช้กับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะมีสัญชาติไหนก็ตาม (มาตรา 5)
8. ในกรณีที่เหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบพร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้า (มาตรา 37) (4)
9. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่จัดทำบันทึกรายการกิจกรรม เพื่อให้สำนักงานสามารถตรวจสอบได้ โดยจะบันทึกเป็นหนังสือหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
10. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตาม PDPA หรือประกาศฯที่ออกตาม PDPA (ทั้งนี้ กระบวนการร้องเรียนเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการฯ ประกาศกำหนด มาตรา 73)
และนี่ก็เป็น 10 เรื่องที่ประชาชนไทยทุกคนต้องรู้ไว้เกี่ยวกับ PDPA ที่จะบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงกฎหมายครั้งยิ่งใหญ่และสำคัญกับชีวิตคนไทย
สยามสไมล์